365WECARE

หอบหืด (Asthma)

 

     โรคหอบหืด (Asthma) เป็นโรคทางเดินหายใจเรื้อรังชนิดหนึ่ง ซึ่งมีความรุนแรงของโรคแตกต่างกันออกไปในผู้ป่วยแต่ละคน ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมากรวมถึงการเจริญเติบโตที่ช้าลง รบกวนการทำงานและการทำกิจวัตรประจำวัน ยังไม่มีการรักษาให้หายขาดได้ การรักษาจึงเน้นไปที่การลดความรุนแรงของโรคด้วยการใช้ยาให้เหมาะสมและถูกวิธี เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ หลอดลมของผู้ป่วยโรคหืดไวต่อสิ่งกระตุ้นมากผิดปกติ เมื่อสัมผัสสิ่งกระตุ้น หลอดลมจึงหดตัวตีบแคบลง ส่งผลให้เกิดอาการหอบ หายใจลำบาก หากเกิดภาวะหอบหืดเฉียบพลันและไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

อาการของโรคหอบหืด

     โดยทั่วไปจะมีอาการหอบ หายใจลำบาก หายใจมีเสียงหวีด (wheezing sound) (ในระยะแรกจะได้ยินเสียงนี้ในขณะที่หายใจออก แต่ถ้าเป็นมากขึ้นก็จะได้ยินทั้งในขณะที่หายใจเข้าและหายใจออก) ไอในตอนเช้าและตอนกลางคืนมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ในช่วงที่ไม่มีอาการกำเริบ ผู้ป่วยจะรู้สึกสบายเหมือนคนปกติทั่วไป ส่วนในรายที่เป็นเพียงเล็กน้อยถึงปานกลางมักจะมีอาการเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวและอาการมักกำเริบขึ้นมาทันทีเมื่อมีสาเหตุมากระตุ้น แต่ในภาวะหอบหืดกำเริบเฉียบพลันอาจมีอาการไอเป็นชุดๆ หายใจลำบากแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก หากได้รับการรักษาไม่ทันท่วงที จะทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองและอวัยวะที่สำคัญไม่เพียงพอ อาจอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

โรคหอบหืดเกิดได้จาก 2 ปัจจัยหลัก คือ

  •     ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม  ผู้ป่วยโรคหอบหืดอาจมีอาการกำเริบเมื่อถูกกระตุ้นจากปัจจัยต่างๆ
  •     ปัจจัยทางพันธุกรรม โรคหอบหืดเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ผู้ที่มีบิดา มารดา หรือญาติเป็น จะมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าคนทั่วไป

 

สาเหตุของโรคหอบหืด

enlightenedสารก่อภูมิแพ้ (allergens) เช่น

  •    ● ละอองหญ้า วัชพืช ละอองเกสรดอกไม้ ไรฝุ่นในบ้าน (ส่วนใหญ่จะพบตามพรม ที่นอน เฟอร์นิเจอร์หรือของเล่นที่ทำด้วยนุ่นหรือที่เป็นขนๆ)
  •    ● สปอร์เชื้อรา (พบสปอร์ตามพุ่มไม้ ในสวน ห้องน้ำ ห้องครัวหรือตามที่ชื้น) สัตว์เลี้ยงในบ้าน (สารก่อภูมิแพ้มักจะอยู่ตามน้ำลาย ขนสัตว์ ปัสสาวะและมูลสัตว์)
  •    ● อาหาร ได้แก่ นมวัวและผลิตภัณฑ์จากนมวัว กุ้ง หอย ปู ปลา ไข่ ถั่วลิสง งา สารกันบูดในอาหาร สีผสมอาหาร
  •    ● สารในกลุ่มซัลไฟต์ (Sulfites) และสารที่เจือปนในอาหารหรือเครื่องดื่มบางชนิด เช่น ผลไม้แห้ง ไวน์ เบียร์

enlightenedสิ่งระคายเคือง เช่น ควันบุหรี่ ควันธูป ควันไฟ ควันท่อไอเสีย ฝุ่นละออง มลพิษในอากาศ ยาฆ่าแมลงหรือวัชพืช สเปรย์แต่งผม กลิ่นสี สารเคมีภายในบ้านหรือที่ทำงานและโรงงาน

enlightenedการติดเชื้อของทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ไซนัสอักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ หลอดลมอักเสบ

enlightenedโรคกรดไหลย้อน เพราะน้ำย่อยหรือกรดที่ไหลย้อนลงไปในหลอดลม ทำให้หลอดลมเกิดการอักเสบและอาจทำให้โรคหอบหืดกำเริบได้บ่อยและรุนแรงขึ้น

enlightenedฮอร์โมนเพศ เพราะพบว่าหญิงระยะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ระยะก่อนมีประจำเดือน หรือในขณะตั้งครรภ์ มักจะมีโรคหอบหืดกำเริบ

enlightenedการใช้ยา ได้แก่ ยาแอสไพริน (Aspirin), ยาลดความดันโลหิตกลุ่มปิดกั้นเบต้า เช่น โพรพาโนโลล (Propanolol), ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ซึ่งมีผลต่อการหดตัวของหลอดลม

enlightenedความเครียด เช่น ความเครียดจากการงาน ครอบครัว ปัญหาทางเศรษฐกิจ ความโศกเศร้าจากการสูญเสียคนรัก รวมทั้งอารมณ์ซึมเศร้า เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้หายใจผิดปกติโดยไม่รู้ตัว ทำให้หายใจแบบลึกบ้างตื้นบ้างสลับไปมา เพราะจะส่งผลให้เยื่อบุทางเดินหายใจแห้ง หายใจลำบาก และอาการกำเริบได้ง่ายขึ้น

enlightenedการออกกำลังกายหรือออกแรงในการทำกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งการหัวเราะมาก ๆ อาจชักนำให้เกิดอาการหอบหืดกำเริบได้ในผู้ป่วยบางราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่ออกกำลังจนเหนื่อยหรือหักโหมมากเกินไป หรือออกกำลังกายในที่ที่มีอากาศแห้งและเย็น

enlightenedการสัมผัสความร้อน ความเย็น เช่น การรับประทานไอศกรีมหรือเข้าห้องแอร์

 

การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคหอบหืด ⚡️

  1. 1. การค้นหาและหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการหอบหืด เช่น ฝุ่นและไรฝุ่น รังแคสัตว์ เกสรดอกไม้ รวมทั้งสารก่อมลพิษในอากาศ ควันบุหรี่ สารเคมี ก๊าซพิษต่างๆ เป็นต้น
  2. 2. การเฝ้าระวังอาการและติดตามการรักษากับแพทย์เป็นประจำ อยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดและตรวจสมรรถภาพปอดเป็นระยะๆ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนและเพื่อให้สามารถควบคุมอาการของโรคให้เป็นปกติ

หากต้องใช้ยารักษา ควรใช้อย่างถูกต้องตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกรและปฏิบัติตามขั้นตอนการใช้อย่างเคร่องครัด อย่าปรับยาหรือหยุดด้วยตนเอง แม้อาการจะดีขึ้นแล้ว ไม่ควรซื้อยามาใช้เองเด็ดขาด สำหรับยาพ่นแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

  • ยาควบคุมโรค เป็นยาสูดพ่นที่มีองค์ประกอบเป็นสเตียรอยด์ช่วยลดการอักเสบของหลอดลม ต้องใช้อย่างสม่ำเสมอ แม้จะไม่มีอาการ ทุกครั้งที่พ่นยาสเตียรอยด์ ควรบ้วนปากด้วยน้ำสะอาดทันทีเพื่อป้องกันไม่ให้ยาตกค้างที่คอหอย เพราะจะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคเชื้อราในช่องปาก
  • ยาบรรเทาอาการ เป็นยาขยายหลอดลมที่ออกฤทธิ์เร็ว ใช้เมื่อมีอาการหืดกำเริบเฉียบพลัน หรือเมื่อมีอาการหายใจลำบากเกิดขึ้น ผู้ป่วยต้องพกยาฉุกเฉินติดตัวไว้เสมอ เพื่อบรรเทาอาการเมื่อหอบหืดกำเริบและคนรอบข้างควรรู้ตำแหน่งที่เก็บยาเอาไว้ หากฉุกฉินคนรอบข้างจะได้ช่วยเหลือทัน
  1. 3. ดูแล รักษาและทำความสะอาดเครื่องใช้ ของใช้ภายในบ้านให้สะอาด ไม่มีฝุ่นเกาะ
  2. 4. หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แออัดซึ่งอาจส่งผลให้หายใจไม่สะดวก
  3. 5. สวมหน้ากากอนามัยก่อนออกไปข้างนอกเพื่อป้องกันการสัมผัสสารกระตุ้นจากภายนอกบ้าน

 

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

365wecare call365wecare Line365wecare Facebook365wecare Tiktok

ฝ่ายบริการลูกค้า

080-365-3696

ติดตามเราได้ที่

หน้าหลัก

shopping_cart
0

ตะกร้าสินค้า

แบรนด์

โปรโมชั่น