365WECARE

ไมเกรน (Migraine)


     ไมเกรน (Migrane) เกิดจากภาวะที่ระบบประสาทไวต่อการกระตุ้นโดยสิ่งเร้าต่างๆ ทั้งจากภายในร่างกายและสิ่งแวดล้อม เช่น แสงที่จ้าเกินไป เสียง มลพิษ อากาศร้อนจัดหรือเย็นจัด เป็นต้น ทาให้เกิดการหลั่งสารก่อการอักเสบของเส้นเลือดและเส้นประสาทสมอง ส่งผลให้หลอดเลือดในสมองเกิดการหดและขยายตัวซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดหัวข้างเดียวที่เรียกว่าไมเกรนนั่นเอง แต่บางทีอาการของไมเกรนไม่จาเป็นต้องเป็นการปวดหัวข้างเดียวเสมอไป ไมเกรนอาจจะเป็นการปวดทั้งสองข้างหรือข้างเดียวแต่สลับข้างกันไปก็ได้ ส่วนใหญ่จะรู้สึกปวดตามจังหวะการเต้นของหัวใจเป็นจังหวะตุบๆ บริเวณหน้าผาก รอบดวงตา ขมับและขากรรไกร อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ร่วมด้วย ระยะเวลาในการปวดตั้งแต่ 4 ชั่วโมงไปจนถึง 72 ชั่วโมง


ลักษณะอาการ

 

การปวดไมเกรนแบ่งลักษณะได้ตามความหลากหลายของอาการที่เกิดขึ้น ซึ่งมักจะได้แก่


 ปวดศีรษะรุนแรง เป็นจังหวะตุบๆ บริเวณหน้าผากหรือข้างใดข้างหนึ่ง


 รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน


 การมองเห็นพร่ามัว


 รู้สึกเสียวซ่าและชาตามปลายมือปลายเท้า


 เบื่ออาหาร


 ชอบอยู่ในที่มืดๆ มีแสงน้อยๆ


 อาการเป็นต่อเนื่องนานหลายชั่วโมงหรือทั้งวันหรือหลายวัน


 อาจเกิดสิ่งที่ทาให้รบกวนการมองเห็นขึ้น หรืออาจเกิดล่วงหน้าก่อนที่จะปวดศีรษะ ลักษณะเหมือน “ออร่า” แสงแวบๆ วาบๆ เข้ามาในตา


สาเหตุ การเกิดไมเกรน

 

     เกี่ยวข้องกับการหดและขยายตัวที่มากเกินไปของเส้นเลือดในสมอง ซึ่งถูกกระตุ้นได้จากหลาย    ประการ ได้แก่


 การแพ้อาหาร สารเคมีที่ผสมในอาหารและแอลกอฮอล์


 ความเครียดและความเหนื่อยล้า


 การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย เช่น ในช่วงเวลาที่ไข่ตกหรือช่วงมีประจำเดือนในผู้หญิง


 การรับประทานยาคุมกาเนิด


 การมองเห็นแสงแฟลชหรือแสงที่จ้ามากๆ


 การนอนพักผ่อน หรือการออกกาลังที่น้อยเกินไปหรือมากเกินไป


 การเปลี่ยนแปลงระดับความดันอากาศหรือความชื้นในอากาศ


 การวางอิริยาบถในท่าที่ไม่ถูกต้องและกล้ามเนื้อที่ตึงตัว


 การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์

 

4 ระยะของอาการปวดหัวไมเกรน


ระยะบอกเหตุล่วงหน้า (Prodrome): มักจะมีอาการบอกเหตุประมาณ 1 – 2 วันก่อนเป็นไมเกรน เช่น ปวดตึงตามต้นคอ หรืออารมณ์แปรปรวน เป็นต้น

อาการเตือนนำ (Aura): ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการมองเห็นผิดปกติ เช่น เห็นแสงระยิบระยับ เห็นแสงไฟสีขาวมีขอบหยึกหยัก หรือภาพเบลอหรือบิดเบี้ยว แต่บางรายก็ไม่มีอาการเตือนนำ

อาการปวดศีรษะ (Headache): เป็นเหมือนช่วงไคลแม็กซ์ของอาการปวดหัวไมเกรน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวตุ๊บ ๆ หรือปวดหัวข้างเดียว จนไม่สามารทำงานได้ตามปกติ อาจเกิดร่วมกับอาการคลื่นไส้ อาเจียน และจะแพ้ต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ เป็นพิเศษ เช่น แสงจ้า เสียงดัง

เข้าสู่ภาวะปกติ (Postdrome): ภายหลังจากที่เริ่มหายปวดแล้ว ผู้ปวยมักจะมีอาการอ่อนเพลีย วิงเวียน เกิดอาการสับสน หรือไวต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ เหมือนระยะที่สาม

 

ปวดหัวไมเกรนตอนเป็นประจำเดือน

        จากปัจจัยที่กระตุ้นอาการไมเกรนดังที่กล่าวไปข้างต้น จะเห็นได้ว่า ฮอร์โมนเอสโตรเจน มีส่วนสำคัญในการกระตุ้นอาการมากเลยทีเดียว หากใครกำลังใช้ยาคุมกำเนิดหรือยาที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนอยู่ ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง มีการศึกษาพบว่า โรคปวดหัวไมเกรนมักสัมพันธ์กับรอบเดือน โดยเฉพาะช่วงก่อนมีเมนส์ 1 วัน จนถึง 3 วันหลังมีเมนส์วันแรก เพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดต่ำลงรวดเร็วในช่วงนั้น ยิ่งประจำเดือนมาก บางคนก็ยิ่งปวดหัวมาก

1. กลุ่มที่อาการไมเกรนเกิดไม่บ่อย และไม่ใช่ทุกครั้งเกิดจากเมนส์
แนะนำให้กินยารักษาไมเกรนเฉียบพลันทั่วไปเมื่อมีอาการ เช่น ยา naproxen (275 มก.) 1 ถึง 2 เม็ด เมื่อมีอาการปวดหัวไมเกรน โดยอาจใช้ร่วมกับ eletriptan หรือ sumatriptan ในกรณีที่มีอาการปวดหัวมาก
2. คนไข้ที่ปวดหัวสัมพันธ์กับรอบเดือน และรอบเดือนมาสม่ำเสมอ
อาจใช้วิธีกินยาป้องกันในระยะสั้น ๆ ก่อนมีประจำเดือน เช่น กินยา triptan หรือกลุ่ม NSAIDs โดยให้นับช่วง 2 วันก่อนมีประจำเดือน แล้วนับไปอีกรวม 6 วัน แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านระบบประสาทก่อน เพื่อดูความเหมาะสม และป้องกันผลข้างเคียงจากยา
3. กลุ่มที่รอบเดือนไม่สม่ำเสมอ หรือปวดหัวบ่อยๆ ทั้งขณะที่มีและไม่มีรอบเดือน
แนะนำให้กินยาป้องกันไมเกรนทั่วไป เช่น amitriptyline,  propranolol, topamax และควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านระบบประสาทก่อน

 

การรักษา

 

  • enlightened การรักษาที่สาคัญ ได้แก่ การบรรเทาอาการปวดศีรษะและการป้องกันไม่ให้เกิดหรือลดความถี่ ความรุนแรงของอาการปวดศีรษะ อาจไม่จาเป็นต้องใช้ยา เช่น การนวด การกดจุด การประคบเย็น การประคบร้อน หรือการนอนหลับ ในรายที่ไม่ได้ผลหรืออาการปวดรุนแรงจาเป็นต้องใช้ยาแก้ปวด ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา
  • enlightened การป้องกันไม่ให้เกิดหรือลดความถี่ ความรุนแรงของอาการปวดศีรษะ ได้แก่ การออกกาลังกายสม่าเสมอ การกาจัดความเครียดอย่างเหมาะสม รวมถึงการรับประทานยาป้องกันไมเกรน โดยแพทย์จะแนะนาให้รับประทานยาป้องกันเมื่อมีอาการปวดศีรษะบ่อยมาก เช่น สัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้งขึ้นไปหรือแม้ปวดไม่บ่อยแต่รุนแรงมาก หรือนานต่อเนื่องกันหลายวัน ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์
  • enlightened การใข้ยาเพื่อรักษาอาการปวดศีรษะไมเกรนจะเน้นรักษาเมื่อเกิดอาการแบบเฉียบพลัน

 

 

  • พ.อ.หญิง ศรีนวล เจียจันทร์พงษ์ แปลและเรียบเรียงจากเรื่อง The Health Power of Magnesium : AMedical Roundup หนังสือ The Complete Book of Vitamins and Minerals for Health และ
    ศรีนวล เจียจันทร์พงษ์ คอลัมภ์เรื่องยาวประจำฉบับ อาหาร & สุขภาพ ปีที่ 8 ฉบับที่ 57 พ.ศ. 2538 หน้า 50-53,http://www.school.net.th/library/snet4/may11/magne.htm
  • Lisa A. Yablon, Alexander Mauskop, Magnesium in the Central Nervous System, The University of Adelaide Press 2011 , Online Publication Date: June 2012, http://universitypublishingonline.org/adelaide/chapter.jsf?bid=CBO9780987073051&cid=CBO9780987073051A017
  • The Effects of Magnesium, l-Carnitine, and Concurrent Magnesium–l-Carnitine Supplementation in Migraine Prophylaxis, Biological Trace Element Research, December 2012, Volume 150, Issue 1-3, pp 42-48

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

365wecare call365wecare Line365wecare Facebook365wecare Tiktok

ฝ่ายบริการลูกค้า

080-365-3696

ติดตามเราได้ที่

หน้าหลัก

shopping_cart
0

ตะกร้าสินค้า

แบรนด์

โปรโมชั่น