365WECARE

กระเพาะอาหารอักเสบ (Peptic Ulcer Disease) 

 

 “ปวดท้อง” แบบนี้ใช่ “โรคกระเพาะ” (อาหารอักเสบ)” หรือไม่… 

 
     โรคแผลในกระเพาะอาหาร (Peptic ulcer) ได้แก่ โรคที่มีแผลขึ้นในกระเพาะอาหาร, ลำไส้เล็กส่วนต้น อาจเกิดแผลในบริเวณปลายหลอดอาหารส่วนที่อยู่ต่อกับกระเพาะอาหารร่วมด้วยได้ ทั้งนี้ เกิดจากเยื่อเมือกบุภายในทางเดินอาหารเหล่านี้ถูกทำลายโดยน้ำย่อยจากกระเพาะอาหาร อาการที่พบได้บ่อย คือ ปวดท้อง มักมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียเอช ไพโลไร หรือการใช้ยาแก้ปวดต้านการอักเสบในกลุ่มเอ็นเสดเป็นเวลานาน เช่น แอสไพริน ไอบูโปรเฟน เป็นต้น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ หรือการรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ดอาจทำให้อาการแย่ลงได้ แผลในกระเพาะอาหารพบมากในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป หากปล่อยไว้แล้วไม่ได้รับการรักษาจะทำให้อาการรุนแรงขึ้น และเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ 


 
อาการของโรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น 

 
     อาการที่สำคัญของโรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น คือ ปวดท้องบริเวณยอดอกหรือบริเวณใต้ลิ้นปี่ มักปวดเมื่อหิว หรือหลังรับประทานอาหารแล้วประมาณ 2-5 ชั่วโมง อาจตื่นกลางคืนเนื่องจากอาการปวดท้อง ซึ่งอาการปวดท้องนี้จะดีขึ้นเมื่อรับประทานอาหาร หรือรับประทานยาเคลือบกระเพาะ หรือยาลดกรด 

 

     ส่วนอาการอื่นๆที่พบได้ คือ คลื่นไส้ อาจมีอาเจียนบางครั้ง เบื่ออาหาร ผอมลง อาเจียนเป็นเลือด หรือ มีอุจจาระเป็นสีดำเหมือนยางมะตอย มีอาการท้องเฟ้อ อิ่มง่าย จุกหน้าอก แน่นท้อง เรอบ่อย อาหารไม่ย่อย และไม่มีความอยากอาหาร 

 

 
ผลแทรกซ้อนหรืออาการข้างเคียงของโรค yes

 
     ผลข้างเคียง (ผลแทรกซ้อน) จากโรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น มักเป็นภาวะที่รุนแรง และอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ โดยผลข้างเคียงที่พบได้ คือ 

 

  • มีเลือดออกจากแผล ส่งผลให้อาเจียนเป็นเลือด หรือ ถ่ายอุจจาระสีดำเหมือนยางมะตอย 

 

  •  แผลก่อให้เกิดการตีบตันของกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็ก จึงก่อให้เกิดภาวะกระเพาะอาหาร และ/หรือลำไส้เล็กอุดตัน เกิดการปวดท้องอย่างรุนแรงร่วมกับอาเจียน โดยเฉพาะภายหลังรับประทานอาหาร และดื่มน้ำ 

 

  •  กระเพาะอาหาร และ/หรือลำไส้ทะลุ เป็นสาเหตุให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียรุนแรงของช่องท้องได้ 


 
สาเหตุของโรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น yes

 
     สาเหตุที่พบบ่อยของโรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ เอช ไพโลไร (H. pylori หรือ Helicobacter pylori) พบได้ประมาณ 60% ของแผลในกระเพาะอาหารทั้งหมด และเป็นประมาณ 90% ของแผลในลำไส้เล็กส่วนต้นทั้งหมด 


 
รู้จัก เชื้อเอช ไพโลไร (H. pylori) กันก่อน
 enlightened

 

     “เอช ไพโลไร (H. pylori)” เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่ติดต่อโดยการรับประทานอาหาร หรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อจากอุจจาระของผู้ติดเชื้อ เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะเข้าไปฝังตัวอยู่ในเยื่อบุกระเพาะ ทำให้เกิดการอักเสบที่เยื่อบุกระเพาะ เกิดแผล และมะเร็งกระเพาะอาหารได้ 

 


สาเหตุอื่นๆที่พบได้ คือ enlightened

 

 รับประทานยาต้านการอักเสบ/ยาแก้อักเสบในกลุ่มยาแก้ปวดเอ็นเสดส์ (NSAIDs, Non-steroidal anti-inflammatory drugs) ที่ใช้รักษาโรคปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อต่างๆ และโรคเกาต์ เช่น ยาแอสไพริน ยาเซเลโคซิบ(Celecoxib) ยาไดโคลฟีแนค (Diclofenac) ยาอินโดเมธาซิน (Indomethacin) และยา ไอบูโปรเฟน (Ibuprofen) 


 ความเครียด 


 การสูบบุหรี่ 


 การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 


 รับประทานอาหารรสเผ็ด 


 รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา 

 


การรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ


    โรคกระเพาะอาหารอักเสบ สามารถรักษาให้หายได้ หากได้รับการดูแลรักษาที่ดี และผู้ป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของตนเอง แต่หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติท เช่น การตรวจโดยการส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร (Gastroscope: EGD) เพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างถูกวิธี


    อย่างไรก็ตามในเบื้องต้นแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดในการรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ผู้ป่วยควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของตนเอง ดังนี้

 

  1.       1.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและโภชนาการ ได้แก่ รับประทานอาหารตรงเวลาทุกมื้อ รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย

     

  1.       2.งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน

     

  1.       3.งดสูบบุหรี่ เนื่องจากเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น

     

  1.       4.ไม่เครียดหรือวิตกกังวล และพักผ่อนให้เพียงพอ

     

  1.       5.รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งให้ถูกต้องและสม่ำเสมอ

     

  1.       6.ไม่ซื้อยารับประทานเอง โดยไม่ปรึกษาแพทย์ พยาบาล หรือเภสัชกร

 


ปวดท้องแบบไหนเสี่ยงเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร 


      1. มีอาการปวดท้องในคนอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป 


      2. เลือดออกทางเดินอาหาร (อาเจียนมีเลือดปน, ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดปน หรือถ่ายอุจาระมีสีดำ), น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ


      3. ไม่ตอบสนองต่อการรักษาโดยการใช้ยาลดกรดแบบเม็ด เป็นระยะเวลา 4 - 8 สัปดาห์หลังการรักษา


      4. มีอาการเป็นๆหายๆบ่อยครั้ง, มีประวัติมะเร็งกระเพาะอาหารหรือทางเดินอาหารของญาติสายตรงลำดับหนึ่ง (ได้แก่ พ่อ, แม่, พี่, น้อง)


     ผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าวเบื้องต้นควรได้รับการตรวจเพื่อหาสาเหตุเพิ่มเติม เช่น การส่องกล้องกระเพาะอาหาร ซึ่งการส่องกล้องกระเพาะอาหารเป็นหัตถการที่ปลอดภัยและมีภาวะแทรกซ้อนน้อย ทำได้โดยการพ่นยาชาเฉพาะที่บริเวณในช่องคอ หรือยาฉีดทางหลอดเลือดดำเพื่อให้ผู้ป่วยหลับ และนำกล้องลักษณะคล้ายท่อขนาดเล็กประมาณ 1 เซนติเมตร ผ่านช่องคอ หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็กส่วนต้น  เพื่อให้เห็นการอักเสบ แผล หรือเนื้องอก ทั้งนี้ การส่องกล้องยังสามารถบันทึกภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว, สอดที่ตัดชิ้นเนื้อขนาดเล็กผ่านทางกล้อง เพื่อนำชิ้นเนื้อมาตรวจหาเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร ส่งตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิเพื่อหามะเร็ง เป็นต้น


 


เอกสารอ้างอิง 

• ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร. คณะแพทยศาสตรศิริราชพยาบาล. [Internet]. เข้าถึงได้จาก: 
https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/admin/article_files/359_1.pdf 
• POBPAD. โรคกระเพาะอาหารอักเสบ. [Internet]. เข้าถึงได้จาก: https://www.pobpad.com/โรคกระเพาะ
อาหารอักเสบ 
• นายแพทย์พิสัย แก้วรุ่งเรือง. โรงพยาบาลศิศรินทร์. [Internet]. เข้าถึงได้จาก: 
https://www.sikarin.com/content/detail/ปวดท้องแบบนี้ใช่โรคกระเพาะอาหารอักเสบหรือไม่ 

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

365wecare call365wecare Line365wecare Facebook365wecare Tiktok

ฝ่ายบริการลูกค้า

080-365-3696

ติดตามเราได้ที่

หน้าหลัก

shopping_cart
0

ตะกร้าสินค้า

แบรนด์

โปรโมชั่น