365

WECARE

SOMA SM-250.5 Aluminium ล้อ 14 นิ้ว เหลือง โซม่า รถเข็นผู้ป่วย

รถเข็นพับได้ น้ำหนักเบา ประหยัด

รถเข็นน้ำหนักเบา พับได้ ดีไซน์สวย ราคาประหยัด เหมาะสำหรับ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ จัดส่งทุกวัน

รหัสสินค้า: 23672

เลขที่จดแจ้ง / เลข อย. :ฆพ 811/2561

สถานะ: มีสินค้าใน stock

เลือกจำนวน :

1 ชิ้น

ราคา 5537 ฿6800

19 %

linebutton_qalinebutton_share

รายละเอียดสินค้า

SOMA SM-250.5 Aluminium ล้อ 14 นิ้ว เหลือง โซม่า รถเข็นผู้ป่วย

 บทความน่ารู้เกี่ยวกับการใช้รถเข็น(1)

 

(หัวข้อที่ 1)

ขั้นตอนแรกของการให้การดูแล : ทักษะการใช้รถเข็นที่ประหยัดแรงและปลอดภัย

สำหรับผู้ดูแลแล้ว ความเครียดจากการให้การดูแล เป็นสิ่งที่มองไม่เห็น ยากที่จะรับรู้ได้ด้วยตาเปล่า อีกทั้งความเจ็บป่วยที่อาจเกิดกับร่างกายของผู้ดูแลซึ่งมักถูกมองข้าม นั่นคือ ความเสียหายของกล้ามเนื้อและข้อต่อของร่างกาย ด้วยทักษะของการดูแลมักเน้นที่ “ความเหมาะสม” ไม่ใช่การใช้กำลังมากเกินไป หากผู้ดูแลออกแรงอย่างไม่เหมาะสม ด้วยมุมของเอวและหลังหรือขยับท่าทางไม่ถูกต้อง ในระยะยาวร่างกายจะเกิดการอักเสบเรื้อรัง ตั้งแต่อาการปวดเอว ปวดหลังถึงขั้นได้รับบาดเจ็บจากอาการเจ็บกระดูกสันหลัง ข้อต่อหรือแม้กระทั่งเส้นประสาท ดังนั้นการอาศัยความช่วยเหลือจากอุปกรณ์ช่วยที่ดีบวกกับทักษะการใช้งานรถเข็นที่ประหยัดแรงและปลอดภัย ไม่เพียงแต่ช่วยลดภาระของผู้ดูแลให้น้อยลง ยังเป็นการป้องกันร่างกายของตนเองไม่ให้ได้รับบาดเจ็บอีกด้วย

 

การป้องกัน “อาการบาดเจ็บสะสมของกล้ามเนื้อและกระดูก”

ก่อนอื่นควรเลือกรถเข็นแบบเข็นมือสำหรับให้การดูแล ซึ่งการออกแบบจะอาศัยมุมมองจากผู้ให้การดูแลเป็นส่วนใหญ่ เช่น ระดับของเบรคที่ไม่ต้องก้มลงเวลาเบรครถเข็น ตำแหน่งของมือจับที่ช่วยประหยัดแรงและเข็นได้อย่างง่ายดาย บวกกับทักษะการเข็นที่ถูกต้องดังต่อไปนี้

(1) วิธีการเข็น – เมื่อเข็นรถเข็นต้องรักษาช่วงเอวให้ตั้งตรง

(2) การขึ้นลงรถเข็น – เมื่อช่วยเหลือผู้ป่วยในการขึ้นหรือลงรถเข็น จำเป็นต้องเบรครถและถอดที่พักเท้าออก ทั้งนี้นอกจากเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ผู้ป่วยสะดุดหกล้มแล้ว ยังช่วยลดระยะห่างของรถเข็นลงซึ่งเป็นการช่วยลดภาระที่เกิดขึ้นแก่ช่วงเอวด้วย

(3) การขึ้นลงพื้นที่เป็นขั้นบันไดหรือต่างระดับ – เวลาที่ต้องเผชิญกับพื้นที่ยกขึ้นสูงต่างระดับจะต้องใช้ “แท่นเหยียบข้ามพื้น” เพื่อประกอบการใช้งาน ซึ่งจะช่วยหลีกเลี่ยงไม่ให้ข้อมือได้รับบาดเจ็บจากการออกแรงยกรถเข็นมากเกินไป

(4) การเคลื่อนย้ายรถเข็น – หากจำเป็นต้องยกรถเข็นขึ้นทั้งคัน เช่น การนำรถเข็นใส่ไว้ที่กระโปรงหลังรถยนต์ หากรถเข็นสามารถถอดแยกชิ้นส่วนได้ก็ควรถอดชิ้นส่วนบางส่วนของรถเข็นออกก่อน เพื่อลดน้ำหนักโดยรวมทั้งมวล ทางที่ดีที่สุดคือการหาผู้ช่วยในการยก

 

(หัวข้อที่ 2)

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากรถเข็นไปเตียงและจากเตียงไปรถเข็น

สำหรับผู้ป่วยที่นั่งรถเข็น การเคลื่อนย้ายตำแหน่งเป็นเรื่องที่ต้องระวังเป็นอย่างมาก และหากเคลื่อนย้ายอย่างไม่ถูกวิธีจะทำให้เพิ่มความเสี่ยงสำหรับการลื่นหกล้ม 

(1) การเคลื่อนย้ายจากรถเข็นไปเตียง ให้ผู้ดูแลเข็นผู้ป่วยไปชิดกับขอบเตียง ด้านหน้ารถเข็นทำมุม 45 องศากับขอบเตียง ล็อคเบรครถเข็นและพับเก็บที่พักเท้า จากนั้นให้ผู้ป่วยเอนตัวไปด้านหน้าแล้วค่อยๆลุกขึ้นยืน มือหนึ่งจับที่ขอบเตียง อีกมือจับผู้ดูแลแล้วค่อยๆหมุนตัว หย่อนสะโพกลงบนเตียง โดยผู้ดูแลจะต้องคอยจับผู้ป่วยเพื่อป้องกันไม่ให้ลื่นหรือสะดุดล้ม

(2) การเคลื่อนย้ายจากเตียงไปรถเข็น ให้ผู้ดูแลวางตำแหน่งรถเข็นเฉียงอยู่ด้านหน้าทำมุม 45 องศากับเตียง ล็อคเบรครถเข็นและเก็บที่พักเท้า จากนั้นให้ผู้ป่วยเอนตัวไปด้านหน้าแล้วค่อยๆลุกขึ้นยืน มือหนึ่งจับที่พักแขน อีกมือจับผู้ดูแลแล้วค่อยๆหมุนตัว หย่อนสะโพกลงที่รถเข็น โดยผู้ดูแลจะต้องคอยจับผู้ป่วยเพื่อป้องกันไม่ให้ลื่นหรือสะดุดล้ม 

 

เพื่อความปลอดภัย ช่วยประหยัดแรงและสะดวกในการเคลื่อนย้ายร่างกายมากยิ่งขึ้น รถเข็นหรืออุปกรณ์ช่วยที่มีการออกแบบถูกต้องและสอดคล้องกับประสบการณ์ของผู้ใช้จะต้องอำนวยความสะดวกให้ได้มากที่สุด โดยรถเข็นที่มีประสิทธิภาพในการเคลื่อนย้ายร่างกาย(Transfer) ควรมีคุณสมบัติดังนี้ 1.ที่พักแขนสามารถยกขึ้นหรือถอดออกได้ 2.ที่วางเท้าสามารถพับหรือสวิงเข้าออกกระทั่งถอดออกได้ ซึ่งทำให้ด้านข้างและด้านหน้าของรถเข็นมีที่ว่างเพิ่มขึ้น เป็นการช่วยลดระยะห่างระหว่างที่นั่งของรถเข็นกับจุดที่จะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไป เช่น เตียง ด้วยรถเข็นที่มีคุณสมบัติดังนี้จะสามารถทำการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้โดยใช้แรงน้อยที่สุด รวมทั้งช่วยลดความเสี่ยงจากอันตรายที่เกิดการลื่นหกล้มอีกด้วย

โดยรถเข็นรุ่นที่เหมาะแก่การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย มีคุณสมบัติที่จำเป็นครบถ้วนได้แก่ Karma wheelchair ECON 800

shopping_cart
0